ดาวน์โหลด

Download

คลังความรู้

Knowledge

 
ข่าวประชาสัมพันธ์
มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวและรักษาเสถียรภาพราคาข้าว ปีการผลิต 2559/60

 ช่วงการเพาะปลูก

สนับสนุนเงินทุนช่วยเหลือต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว

* ไร่ละ 1,000 บาท รายละไม่เกิน 10 ไร่

* เริ่มจ่ายเงินปลายเดือน ก.ย. – 31 ต.ค. 59 (ภาคใต้ไม่เกิน 31 ธ.ค. 59)

* ต้องเป็นเกษตรกรที่ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2559/60 (และต้องเป็นเกษตรกรตามทะเบียนเกษตรกรของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ใน 2 – 3 ปี ที่ผ่านมา)

ธ.ก.ส. จ่ายดอกเบี้ยให้เกษตรกรที่กู้เงินที่ใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการเพาะปลูกและลดต้นทุนการผลิต

* ลดดอกเบี้ยร้อยละ 3 ต่อปี

* เงินต้นไม่เกินรายละ 80,000 บาท

* เป็นสัญญาเงินกู้ตั้งแต่ 1 ม.ค. – 31 ธ.ค. 59 (ภาคใต้ไม่เกิน 31 มี.ค. 60)

* ระยะเวลาลดดอกเบี้ยเงินกู้ตั้งแต่ 1 เม.ย. 59 เป็นต้นไป จนกว่าจะชำระคืนเสร็จ แต่ต้องไม่เกิน 6 เดือน

ลดต้นทุนการผลิตด้วยการปรับลดราคาปัจจัยการผลิต

* ค่าปุ๋ยเคมี ปรับลดลง 10 – 30 บาท/กระสอบ

* ค่ายาปราบศัตรูพืชปรับลดลง 6 – 115 บาท/ขวด (ตามขนาดขวดที่กำหนด)

* ค่าเมล็ดพันธุ์ปรับลดลง 1 บาท/กก.

* ค่าเช่าที่นาปรับลดลง 200/ไร่

หมายเหตุ – ปุ๋ยเคมีและยาปราบศัตรูพืชปรับลดราคาในช่วง 1 พ.ค. – 31 ธ.ค. 59

สนับสนุนเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิคุณภาพดี เพื่อให้ได้ผลผลิตมีคุณภาพ

* เกษตรกรในแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิ 23 จังหวัด จำนวน 64,000 ครัวเรือน (ในเขตภาคเหนือ 3 จังหวัด ภาคอีสาน 20 จังหวัด)

* ให้เมล็ดพันธุ์ไม่เกิน 125 กก./ครัวเรือน พื้นที่ปลูกไม่น้อยกว่า 10 ไร่

* มีการให้คำแนะนำและถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวในช่วงเดือน มิ.ย. – พ.ย. 59

สนับสนุนเงินทุนให้สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชนที่ปลูกข้าวแบบแปลงใหญ่

* วงเงินกู้กลุ่มละไม่เกิน 5,000,000 บาท

* ดอกเบี้ยเพียงร้อยละ 0.01 ต่อปี

* ระยะเวลาจ่ายเงินกู้ ตั้งแต่ 1 มิ.ย. – 31 ต.ค. 59 (ภาคใต้ 3 มิ.ย. – 28 ก.พ. 60)

* ระยะเวลากู้เงินไม่เกิน 12 เดือน นับถัดจากเดือนที่รับเงินกู้

ช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิตออกสู่ตลาด

จัดหารถเกี่ยวให้เกษตรกรในช่วงที่ผลผลิตออกมาจำนวนมาก

* ทำให้เกษตรกรเก็บเกี่ยวข้าวในช่วงเวลาที่เหมาะสม ได้ผลผลิตมีคุณภาพ ขายได้ราคาดี

* ในช่วงที่ข้าวออกมามากในช่วงเดือน พ.ย. – ธ.ค. 59

ชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการมีเงินทุนในการเก็บสต็อคช่วงที่ผลผลิตออำมาจำนวนมาก

* ชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 3 ต่อปี

* ระยะเวลาชดเชยดอกเบี้ย 60 – 180 วัน นับจากวันที่รับซื้อ

* รับสมัครถึงวันที่ 23 ก.ย. 59

* รับซื้อเก็บสต็อค 1 พ.ย. 59 – 31 มี.ค. 60 (ภาคใต้ 1 ก.พ. – 31 พ.ค. 60)

จัดตลาดนัดข้าวเปลือกให้เกษตรกรมีทางเลือก จะขายกับใครก็ได้ที่ให้ราคาเหมาะสม

* มีเจ้าหน้าที่รัฐคอยช่วยเหลือให้ความเป็นธรรมในการขาย

* ดูแลเครื่องชั่ง เครื่องวัดความชื้นที่ได้มาตรฐาน

* ดูแลการตรวจสิ่งเจือปน

* ระยะเวลา 1 ต.ค. 59 – 30 ก.ย. 60 (โดยจังหวัดเป็นผู้กำหนดช่วงระยะเวลาการจัดตลาดนัดข้าวเปลือก)

สินเชื่อให้สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวหรือแปรรูปเพื่อจำหน่ายในราคาสูงขึ้น

* ให้สินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกรเพื่อรับซื้อ แปรสภาพ

* ดอกเบี้ยร้อยละ 4 (รัฐชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 3 สถาบันเกษตรกรจ่ายดอกเบี้ยเพียงร้อยละ 1)

* ระยะเวลาเบิกเงินกู้ 1 ต.ค. 59 – 30 มิ.ย. 60

* ระยะเวลาชำระหนี้ไม่เกิน 12 เดือน นับตั้งแต่วันรับเงินกู้ (ไม่เกิน 30 ก.ย. 60)

สินเชื่อให้เกษตรกรในการเก็บข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉาง ราคาดีเมื่อไหร่แล้วค่อยขาย

* ข้าวเปลือกความชื้นไม่เกินร้อยละ 15 สิ่งเจือปนไม่เกินร้อยละ 2

* ราคาข้าวเปลือกหอมมะลิและข้าวเปลือกเหนียวตันละ 11,700 บาท

* ได้ค่าฝากเก็บตันละ 1,500 บาท

* ระยะเวลาคืนเงินไม่เกิน 5 เดือน (นับถัดจากเดือนที่รับเงินกู้)

* เริ่ม 1 พ.ย. 59 – 28 ก.พ. 60

ช่วงฟื้นฟู ปรับเปลี่ยนอาชีพทำให้เกษตรกรมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

พักชำระหนี้เงินต้นและลดดอกเบี้ยให้เกษตรกร เพื่อฟื้นฟูตนเองและมีเงินใช้จ่ายในครัวเรือน

* เกษตรกรรายย่อยที่มีหนี้เงินกู้กับ ธ.ก.ส. ก่อน 1 มิ.ย. 59 ไม่เกิน 500,000 บาท

* เลื่อนกำหนดชำระหนี้เงินต้นให้ 2 ปี (ตั้งแต่ 1 ก.ค. 59 – 30 มิ.ย. 61)

* ลดดอกเบี้ยร้อยละ 3 ต่อปี (ตั้งแต่ 1 ก.ค. 59 – 30 มิ.ย. 61)

สนับสนุนความรู้ให้เกษตรกรที่ปรับเปลี่ยนการผลิตตามความต้องการของตลาด

* อบรมให้ความรู้เกษตรกร จำนวน 300,000 ราย แบ่งเป็น 2 รอบ

-          รอบที่ 1 “รู้กระแสเงินสด อนาคตมั่นคง” ให้ความรู้ด้านการเงินโดยชี้หลักเศรษฐกิจพอเพียง (เริ่ม 1 ก.ค. – 31 ธ.ค. 59)

-          รอบที่ 2 “ปรับเปลี่ยนการผลิต สู่ชีวิตที่ยั่งยืน” การอบรมเกษตรกรในการปรับเปลี่ยนการผลิตตามความต้องการของตลาด (เริ่ม 1 มิ.ย. – 31 ธ.ค. 60)

สนับสนุนให้เกษตรกรปลูกพืชทดแทนที่ใช้น้ำน้อยแทนการปลูกข้าวในฤดูนาปรัง

* เกษตรกร 22 จังหวัด ลุ่มน้ำเจ้าพระยา

* ให้ความรู้และช่วยหาตลาด

* ให้ค่าใช้จ่ายไร่ละ 2,000 บาท รายละไม่เกิน 5 ไร่

* ทำให้เกษตรกรมีรายได้ในช่วงที่ลดรอบการปลูกข้าวฤดูนาปรัง

* ระยะเวลาดำเนินการ 1 มิ.ย. 59 – 30 เม.ย. 60

สนับสนุนให้เกษตรกรที่พื้นที่ไม่เหมาะในการปลูกข้าวเปลี่ยนไปเลี้ยงสัตว์หรือปลูกพืชอื่น

* ปรับเปลี่ยนอาชีพไปเลี้ยงสัตว์ เช่น กระบือ โคเนื้อ แพะ ไก่ ปลา ฯลฯ

* ปลูกพืชอื่นหรือพืชทางเลือก เช่น นาหญ้า พืชตระกูลถั่ว มันสำปะหลัง อ้อย ข้าวโพด ลำไย มะพร้าว ทุเรียน เงาะ มังคุด ฯลฯ

* ดอกเบี้ยร้อยละ 5 ต่อปี (รัฐชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 3 ต่อปี กลุ่มเกษตรกรจ่ายดอกเบี้ยเพียงร้อยละ 2 ต่อปี)

* ระยะเวลาชำระเงินกู้ไม่เกิน 6 ปี (ตั้งแต่ 1 ส.ค. 59 – 30 ก.ย. 65)

จำนวนผู้เข้าชม 1484 ครั้ง
      
 
 
กลุ่มงานกำกับและพัฒนาเศรษฐกิจการค้า สำนักงานพาณิชย์จังหวัดร้อยเอ็ด
58 อาคารสำนักงานพาณิชย์จังหวัด รัฐกิจไคลคลา
ต.ในเมือง อ.เมืองร้อยเอ็ด จ.ร้อยเอ็ด 45000
โทรศัพท์ : 043-513856, 043-514327
โทรสาร : 043-513856
อีเมล : roiet@dit.go.th
ขณะนี้มีผู้ออนไลน์อยู่
1
จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์
10632
(เริ่มนับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2559)
เว็บไซต์แสดงผลได้ดีบน Google Chrome
และรับรองการแสดงผลบน Mobile Devices
สงวนลิขสิทธ์ 2559 โดย กรมการค้าภายใน
เงื่อนไขการใช้งานเว็บไซต์ : นโยบายเว็บไซต์ | นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล | นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของเว็บไซต์ | การปฏิเสธความรับผิดชอบ